แนวทางการประเมินโครงงาน Problem Based Learning
ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
คำชี้แจง
เกณฑ์การประเมินนี้ไม่ใช่เกณฑ์การประเมินที่ดีที่สุด แต่เป็นเพียงแนวทางปฏิบัติที่ทางโรงเรียน
ลำปลายมาศพัฒนาใช้ประเมินเพื่อการตัดสินเท่านั้น การประเมินที่แท้จริงต้องเป็นการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นไปพร้อมกับการเรียนการสอน ซึ่งผู้เรียน และผู้เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้เท่านั้นที่จะเข้าใจและสามารถประเมินได้อย่างแท้จริง
การประเมินนี้เป็นเพียงการประเมินเพื่อตัดสินให้เกรดซึ่งมีแนวทางตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาได้จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยการใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้ (Problem Based Learning) การประเมินผลการเรียนของแต่ละกลุ่มสาระ
1. กลุ่มสาระที่บูรณาการ ในหน่วยโครงงานมี 10 กลุ่มสาระ ได้แก่
1) สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
2) ประวัติศาสตร์
3) หน้าที่พลเมือง
4) วิทยาศาสตร์
5) การงานพื้นฐานอาชีพ และเทคโนโลยี
6) สุขศึกษาและพละศึกษา
7) ภาษาไทย
8) คณิตศาสตร์
9) ภาษาอังกฤษ
10) ศิลปะ
2. การจัดทำผังความคิด (Web)เพื่อเชื่อมโยงหน่วยกับเป้าหมายระดับชั้น และวิเคราะห์ตัวชี้วัดของหน่วยโครงงานที่สอดคล้องกับมาตรฐานของหลักสูตรแกนกลาง
ครูเชื่อมโยงหน่วยโครงงานกับเป้าหมายระดับชั้นและกำหนดตัวชี้วัดตามมาตรฐานของหลักสูตรแกนกลางมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) เพื่อให้ครูได้ทราบว่าหน่วยโครงงานที่จะสอนมีความสัมพันธ์กับเป้าหมายระดับชั้นใน 10 สาระอะไรบ้าง
2) เพื่อให้ครูกำหนดมาตรฐานและตัวชี้วัดที่จะต้องผ่านในหลักสูตรการศึกษาแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในการจัดการเรียนรู้หน่วยโครงงานที่ผู้เรียนจะเรียนรู้ ซึ่งครูจะกำหนดตัวชี้วัดใน 7 กลุ่มสาระคือ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง วิทยาศาสตร์ การงานพื้นฐานอาชีพเทคโนโลยี สุขศึกษาพลศึกษา และศิลปะ ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการประเมินและการให้ผลการเรียน
3) เพื่อให้ครูได้ออกแบบกิจกรรมการสอนทั้ง 10 สัปดาห์ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดแต่ละกลุ่มสาระที่กำหนดไว้
3. แนวทางการประเมินใช้หลักการประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment)
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ใช้หลักการประเมินตามสภาพจริง โดยใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย เช่น การประเมินจากชิ้นงานหรือภาระงานที่เป็นหลักฐาน/ร่องรอย ว่านักเรียนบรรลุมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชีวัดในหน่วยการเรียนรู้นั้นๆ ซึ่งชิ้นงาน/ภาระงานอาจเกิดจากครูผู้สอนกำหนดให้ หรืออาจให้ผู้เรียนร่วมกัน ซึ่งจะประเมินด้านความรู้ ทักษะและคุณลักษณะ เครื่องมือในการประเมินใช้เกณฑ์ Rubric ดังรายละเอียดต่อไปนี้
3.1 ประเมินจากชิ้นงานที่ผู้เรียนได้แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่แสดงว่าเข้าใจดังนี้
3.1.1 ชิ้นงาน ได้แก่
1.1 งานเขียน เช่น เรียงความ จดหมาย โคลงกลอน การบรรยาย การเขียนตอบ ฯลฯ
1.2 ภาพ/แผนภูมิ เช่น นิทาน การ์ตูนช่อง Mind Mapping แผนผัง แผนภูมิ วาดภาพ ชาร์ตกราฟ ตาราง ฯลฯ
1.3 สิ่งประดิษฐ์ เช่น งานประดิษฐ์ งานแสดงนิทรรศการ หุ่นจำลอง ฯลฯ
3.2 ภาระงานได้แก่ การพูด/การนำเสนอปากเปล่า เช่น การท่อง (บทเพลง บทกลอน กวี อาขยาน) การอ่าน กล่าวรายงาน โต้วาที ร้องเพลง สัมภาษณ์ บทบาทสมมุติ เล่นดนตรี การละคร การเคลื่อนไหวร่างกาย ฯลฯ
*****งานที่มีลักษณะผสมผสานชิ้นงาน/ภาระงาน ได้แก่ การทดลอง การสาธิต ละคร วีดีทัศน์ ฯลฯ
3.3 สัดส่วนน้ำหนักคะแนน (100 )
ด้านความรู้ ทักษะ ด้านคุณลักษณะ
3.4 เกณฑ์การประเมิน (Rubrics)
1.ด้านความรู้
ด้าน | ระดับคุณภาพ | |||
1 | 2 | 3 | 4 | |
แก่นของเรื่อง | - ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้ | - ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้ - แสดงออกว่าเข้าใจในประเด็นที่หลากหลาย เช่น การอธิบาย การให้เหตุผลประกอบ | - ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้ - แสดงออกว่าเข้าใจในประเด็นที่หลากหลาย เช่น การอธิบาย การให้เหตุผลประกอบ - แสดงออกถึงวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลายผ่านชิ้นงานที่หลากหลายและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ | - ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้ - แสดงออกว่าเข้าใจในประเด็นที่หลากหลาย เช่น การอธิบาย การให้เหตุผลประกอบ - แสดงออกถึงวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลายผ่านชิ้นงานที่หลากหลายและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ - เข้าใจและอธิบายเป้าหมายหลักของเรื่องที่เรียนรู้และเชื่อมโยง มองเห็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต |
ความรู้ที่จำเป็น ( ทักษะศตวรรษที่ 21 ) 1.การประกอบการ เศรษฐศาสตร์ | มองเห็นภาพหรือเป้าหมายของชิ้นงานต่อทรัพยากรที่มีอยู่ | ใช้ทรัพยากรที่มี(ต่อภาระงาน /ชิ้นงาน)เพื่อให้เกิดชิ้นงานอย่างคุ้มค่า | วิเคราะห์ สังเคราะห์เป้าหมาย วางแผนการทำงานได้อย่างเป็นระบบ | ร่วมมือกับผู้อื่นเพื่อกำหนดเป้าหมาย วางแผนและปฏิบัติงานเพื่อส่วนรวม |
สิ่งแวดล้อมและทรัพยากร | ใช้ทรัพยากรได้เหมาะสมกับชิ้นงานและภาระงาน | ใช้ทรัพยากรเหมาะสมกับชิ้นงาน/ภาระงานได้อย่างคุ้มค่า | - ใช้ทรัพยากรคุ้มค่าเหมาะสมกับชิ้นงานและภาระงาน - ชิ้นงานและภาระงานมีคุณภาพ | วางแผนการทำงานได้อย่างเป็นระบบกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ |
ความเป็นพลเมือง วัฒนธรรม ประเพณี | - รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง - รับผิดชอบต่อตนเอง | - รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อครอบครัว ชุมชน และสังคม - รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ - เคารพตนเอง และผู้อื่น | - รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อครอบครัว ชุมชน และสังคม - รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ - เคารพตนเอง และผู้อื่น - มีเป้าหมายที่ดีงามต่อตนเอง | - รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อครอบครัว ชุมชน และสังคม - รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ - เคารพตนเอง และผู้อื่น - มีเป้าหมายที่ดีงามต่อตนเองและสิ่งอื่น - สืบสาน ถ่ายทอดประเพณีวัฒนธรรมของตนเอง - มีความพอดี พอใจในการดำรงตนในสังคม |
สุขภาพ | มีทักษะขั้นพื้นฐานในการดูแลตนเอง (กิจวัตรประจำวัน) | มีทักษะขั้นพื้นฐานในการดูแลตนเอง สามารถเลือกสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต (เลือกอุปกณ์เหมาะกับงาน ดูแลความปลอดภัยขณะทำงาน กินอาหารที่มีประโยชน์ เลือกใช้สื่อเหมาะสม | มีทักษะขั้นพื้นฐานในการดูแลตนเอง สามารถเลือกสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต รวมทั้งสามารถหาแนวทางป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของตนเองและผู้อื่น | - ผลิตหรือเลือกสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต - ใช้ความสามารถที่มีอยู่ได้อย่างเต็มศักยภาพ - รู้เท่าทันและรู้จักป้องกันรักษาตนเองให้ปลอดภัยจากสิ่งต่างๆ - มีวิจารณญาณในการบริโภคสิ่งต่างๆ เช่น อาหาร สื่อ - ดูแลรักษาให้มีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง - เกิดเจตจำนงที่ดีต่อการใช้ชีวิต |
2.ด้านทักษะ
3. ด้านคุณลักษณะ
ทักษะ | ระดับ | |||
1 | 2 | 3 | 4 | |
ความพยายาม - เป้าหมาย - ลงมือทำ - ปรับปรุง พัฒนา | - มีเป้าหมายในการทำงาน - ลงมือปฏิบัติงานเพื่อเรียนรู้แก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้และงานที่รับมอบหมาย | - มีเป้าหมายในการทำงาน - ลงมือปฏิบัติงานเพื่อเรียนรู้แก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้และงานที่รับมอบหมาย | -มีเป้าหมายในการทำงาน -ลงมือปฏิบัติงานเพื่อเรียนรู้แก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้และงานที่รับมอบหมาย -ปรับปรุง พัฒนางาน เมื่อเกิดปัญหาแล้วหาแนวทางในการแก้ไขและพัฒนา | -มีเป้าหมายในการทำงาน -ลงมือปฏิบัติงานเพื่อเรียนรู้แก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้และงานที่รับมอบหมาย -ปรับปรุง พัฒนางาน เมื่อเกิดปัญหาแล้วหาแนวทางในการแก้ไขและพัฒนา -อดทนและสามารถทำงานที่สนใจ และงานที่รับมอบหมายจนสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการเชื่อมโยงไปสู่สาระอื่นหรือองค์ความรู้อื่น |
รู้เคารพ | แสดงออกถึงความสนใจต่อกิจกรรม หรือบุคคลและสิ่งต่างๆ | แสดงออกถึงการฟังอย่างตั้งใจและมีเป้าหมาย | แสดงออกถึงการยอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่าง ของสังคม | แสดงออกถึงการเห็นคุณค่าของสิ่งที่ดีงาม สามารถนำมาปรับใช้ให้เกิดคุณค่าทั้งต่อตนเองและผู้อื่น |
การปรับตัว - รู้จักตนเอง - เห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับผู้อื่น - เคารพยอมรับความแตกต่างหลากหลาย | - เข้าใจและรู้จักตนเอง | - เข้าใจและรู้จักตนเอง - เห็นความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับผู้อื่น | - เข้าใจและรู้จักตนเอง - เห็นความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับผู้อื่น - เคารพ ยอมรับและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังคมและอยู่ร่วมได้ | - เข้าใจและรู้จักตนเอง - เห็นความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับผู้อื่น - เคารพ ยอมรับและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังคมและอยู่ร่วมได้ - อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น